Background



เกร็ดความรู้สู้โรค
อภ.แนะวิธีรับประทานยาเมื่อเป็นโรคกรดไหลย้อน
6 มิถุนายน 2555

289


อภ.แนะวิธีรับประทานยาเมื่อเป็นโรคกรดไหลย้อน


               นายแพทย์วิทิต  อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) เปิดเผยว่า โรคกรดไหลย้อนเป็นโรคที่เกิดจากภาวะน้ำย่อยในกระเพาะมีฤทธ์เป็นกรด จะไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารส่งผลให้มีการระคายเคืองบริเวณลำคอ หรือว่าแสบยอดอก จุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่  รวมทั้งบางรายอาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย อาการคล้ายๆ กับโรคกระเพาะ ทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นโรคกระเพาะ ซึ่งมีสาเหตุมาจากพยาธิสภาพ คือการทำงานของหูรูดอาหารส่วนล่างที่ต่อจากกระเพาะอาหารมีความผิดปกติ  มีลักษณะหย่อนลงไป อาจเกิดเนื่องจากอายุที่มากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพของหูรูดหย่อนไปส่งผลให้กรดจากกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร บางรายอาจเกิดจากระดับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือมีความสัมพันธ์กับโรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือบางรายเกิดจากโรคไส้เลื่อน กระบังลมหย่อน ทำให้เกิดภาวะโรคนี้ขึ้นได้


 สำหรับอาการของโรคกรดไหลย้อนตามที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วจะมีภาวะเรอเปรี้ยว กรดมีลักษณะขมทำให้ปากหรือคอรู้สึกขมในบางราย บางรายอาจมีอาการไอเรื้อรัง หรืออาจมีอาการหอบหืดมากขึ้น ซึ่งเกี่ยวเนื่องมาจากอาการกรดไหลย้อนได้ หากมีอาการดังกล่าวแต่ไม่มาก     ควรดูแลพฤติกรรมการบริโภค คือไม่ให้รับประทานอาหารในแต่ละมื้อมากเกินไป    ไม่รับประทานอาหารทอด     อาหารรสจัด หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และไม่รับประทานอาหารเย็นเสร็จแล้วนอนเลย ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกรดไหลย้อนได้มาก ควรจะเว้นระยะอย่างน้อย 3 ชั่วโมงจึงจะเข้านอน    ควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ รักษาระดับน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนจนเกินไป พักผ่อนมากๆ ไม่ให้เครียด หลีกเลี่ยงการรับประทานชา กาแฟ การดื่มสุรา หรือหากมีอาการจุด แสบยอดอก หรือเสียดท้อง เมื่อมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร


 


      ผู้อำนวยการ ได้กล่าวถึงยาที่ใช้ในการรักษาโรคกรดไหลย้อน ว่า ยากลุ่มหลักๆ ได้แก่ยายับยั้งกลุ่มโปรตอนปั๊ม หรือโปรตอนปั๊มอีดิเตอร์ ยาที่ใช้รักษาภาวะกรดไหลย้อนได้ดีที่สุดชื่อโอเมทโทรโซน ขนาด 20 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 1-2 ครั้ง ตามแต่อาการของโรค รับประทานติดต่อกันเป็นเวลา  6-8  สัปดาห์ หรืออาจใช้เวลามากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยที่มีภาวะกรดไหลย้อนมากหรือเป็นมานานอาจต้องปรับเวลาในการรับประทานเป็นระยะๆ ขึ้นอยู่กับอาการที่มี หรืออาจต้องทานต่อเนื่องมากกว่านั้น


         นอกจากยาในกลุ่มนี้แล้ว ยังมียาอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นยาเพิ่มการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่น ยาเม็ดโทรโพทามายหรือดอมพาลิโดน ซึ่งยาทั้งสองชนิดนี้ จะต้องรับประทานวันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร ½ ชั่วโมง และทานร่วมกับยากลุ่มโปรตอนปั๊ม จะใช้ได้กับยา 2 กลุ่ม ซึ่งจะต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ แม้จะไม่มีอาการแล้ว เนื่องจากโรคนี้มีสาเหตุมาจากพยาธิสภาพที่หลอดอาหาร ไม่เหมือนกับภาวะที่ท้องอืดธรรมดา หรืออาหารไม่ย่อยซึ่งภาวะเช่นนี้เราทานยาตามอาการได้ แต่โรคกรดไหลย้อนเกี่ยวเนื่องกับอวัยวะภายในด้วย ถ้าไปพบแพทย์ก็ต้องไปตามที่แพทย์นัด ทานยาให้ต่อเนื่องไม่เช่นนั้นโรคอาจกลับมาเป็นใหม่ หรือนำไปสู่ภาวะความเสี่ยงอื่นๆ


แหล่งข่าวโดย » องค์การเภสัชกรรม 
[มิถุนายน อังคาร 5,พ.ศ 2555 11:09:03]