276
โรคมือเท้าปากเปื่อย Hand foot mouth syndrome
โรคมือเท้าปากเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่มักจะเป็นในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบ แต่ก็อาจจะพบในผู้ใหญ่ได้โรคมือเท้าปากจะเกิดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enterovirus genusซึ่งเชื้อโรคในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย polioviruses, coxsackieviruses, echoviruses, and enteroviruses.
สาเหตุ โรคปากเท้าเปื่อยเกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Coxsackievirus โดยต้องประกอบด้วยผื่นที่ มือ เท้าและที่ปาก เริ่มต้นเป็นที่ปาก เหงือก เพดาน ลิ้น และลามมาที่มือ เท้า บริเวณที่พันผ้าอ้อมเช่นก้น ผื่นจะเป็นตุ่มน้ำใส มีแผลไม่มากอายุที่เริ่มเป็นคือ 2 สัปดาห์จนถึง 3 ปีผื่นจะหายใน 5-7 วัน
อาการ อาการมักจะเริ่มด้วยไข้ เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัวเจ็บคอ หลังจากไข้ 1-2 วันจะเห็นแผลแดงเล็กๆที่ปากโดยเป็นตุ่มน้ำในระยะแรกและแตกเป็นแผล ตำแหน่งของแผลมักจะอยู่ที่เพดานปาก หลังจากนั้นอีก1-2 วันจะเกิดผื่นที่มือและเท้า แต่ก็อาจจะเกิดที่แขน และก้นได้ เด็กที่เจ็บปากมากอาจจะขาดน้ำ
-
ไข้
-
เจ็บคอ
-
มีตุ่มที่คอ ปาก เหงือกลิ้นโดยมากเป็นตุ่มน้ำมากกว่าเป็นแผล
-
ปวดศีรษะ
-
ผื่นเป็นมากที่มือรองลงมาพบที่เท้าที่ก้นก็พอพบได้
-
เบื่ออาหาร
-
เด็กจะหงุดหงิด
ระยะฝักตัว ระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการใช้เวลาประมาณ 4-6 วัน
การติดต่อ โรคนี้มักจะติดต่อในสัปดาห์แรก เชื้อนี้ติดต่อจากการสัมผัสเสมหะ น้ำลายของผู้ที่ป่วย หรือน้ำจากผื่นที่มือหรือเท้า และอุจาระ ระยะที่แพร่เชื้อประมาณอาทิตย์แรกของการเจ็บป่วย เชื้อนั้นอาจจะอยู่ในร่างกายได้เป็นสัปดาห์หลังจากอาการดีขึ้้นแล้ว ซึ่งยังสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้แม้ว่าจะหายแล้ว
การรักษา ไม่มีการรักษาเฉพาะโดยมากรักษาตามอาการ
-
ถ้ามีไข้ให้ยา paracetamol ลดไข้ห้ามให้ aspirin
-
บ้วนปากด้วยน้ำเกลือใช้เกลือ1/2ช้อนต่อน้ำ1แก้วต้องมั่นใจว่าเด็กบ้วนคอได้
-
ดื่มน้ำให้พอ
-
งดอาหารเผ็ด หรืออาหารเป็นกรดเพราะจะทำให้ปวด
โรคนี้หายเองได้ใน 5-7 วัน
โรคแทรกซ้อน ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirus A16 ซึ่งหายเองใน 1 สัปดาห์ แต่หากเกิดจากเชื้อ enterovirus 71 โรคจะเป็นรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อน
-
ภาวะขาดน้ำ ต้องกระตุ้นเด็กให้รับน้ำให้เพียงพอ หากขาดน้ำรุนแรงจะต้องได้รับน้ำเกลือ
-
มีการติดเชื้อซ้ำบริเวณที่เป็นแผล
-
-
อาจจะเกิดชักเนื่องจากไข้สูง ต้องเช็ดตัวเวลามีไข้และรับประทานยาลดไข้
-
อาจจะเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
-
สมองอักเสบได้ ผู้ป่วยจะเกิดอาการ อาเจียน ซึม และชัก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหาย
การป้องกัน
โรคมือเท้าปากจะติดต่อจากคนสู่คนโดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย รวมทั้งน้ำจากตุ่ม และอุจาระ การลดความเสี่ยงของการติดต่อทำได้โดย
-
ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับเด็กที่ป่วย
-
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย สวมถุงมือเมื่อจะทำแผลผู้ป่วย
-
หลีกเลี่ยงที่มีคนมาก
-
ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่มีการจับ่อย เช่นลูกบิด โทรศัพท์
-
ไม่แบ่งของเล่นกับเด็กปกติ
สำหรับประชาชนทั่วไป | |
- ผู้ปกครอง ควรแนะนำสุขอนามัยส่วนบุคคลแก่บุตรหลาน และผู้ดูแลเด็ก โดยเฉพาะการล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนการเตรียมอาหารหรือก่อนรับประทานอาหารและหลังขับถ่าย การรักษาสุขอนามัยในการรับประทานอาหาร นอกจาก นั้นควรให้เด็กอยู่ในที่ที่มีการระบายอากาศที่ดี ไม่พาเด็กเล็กไปในที่แออัด | |
- สำหรับท่านที่จะพาบุตรหลานที่เป็นเด็กเล็กไปต่างประเทศที่มีการระบาดสามารถเดินทางได้ตามปกติ โดยให้ปฏิบัติตนตามสุขลักษณะที่ดีหลีกเลี่ยงพาบุตรหลานไปสถานที่แออัด และหากบุตรหลานมีอาการป่วยที่สงสัยโรคมือ เท้า ปาก ให้พาไปพบแพทย์ | |
สำหรับโรงเรียนอนุบาลและศูนย์เด็กเล็ก | |
- ผู้ประกอบการในสถานเลี้ยงเด็กควรดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสุขลักษณะของสถานที่อย่างสม่ำเสมอ เช่น ในห้องเรียน ห้องครัว ภาชนะใส่อาหาร รวมทั้งห้องน้ำ ห้องส้วม อาคารสถานที่ เครื่องเล่น หรืออุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเป็นประจำ รวมทั้งการกำจัดอุจจาระ ให้ถูกต้องและล้างมือบ่อยๆ | |
- โรงเรียนอนุบาล และศูนย์เด็กเล็ก ควรเพิ่มเติมความรู้เรื่องโรคและการป้องกันตนเอง เช่น ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับเด็กป่วย การล้างมือและการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล และจำเป็นต้องจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ของเด็ก แยกเป็นราย บุคคล ไม่ให้ใช้ปะปนกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ช้อนอาหาร จัดหาอุปกรณ์ให้นักเรียนได้ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องส้วม หากพบผู้ป่วยในห้องเรียนเดียวกันมากกว่า 2 คน อาจพิจารณาปิดโรงเรียนหรือสถานศึกษาชั่วคราว เป็นเวลา 5 วัน เพื่อทำความสะอาดและลดโอกาสการแพร่กระจายของโรคและสิ่งสำคัญที่โรงเรียนอนุบาล และศูนย์เด็กเล็กควรให้ความสำคัญ คือ การแนะนำครู เรื่อง โรค มือ เท้า ปาก และอนามัยส่วน บุคคล และเตรียมการกรณีเกิดการระบาดในโรงเรียน | |
สำหรับครูและพี่เลี้ยงเด็ก | |
- เผยแพร่ ให้คำแนะนำ ความรู้เรื่องโรคมือ เท้า ปากแก่ผู้ปกครอง และนักเรียน ผู้ดูแลเด็กต้องรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดีหมั่นล้างมือบ่อย ๆ และตัดเล็บให้สั้น ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนการปรุงอาหาร ภายหลังการขับถ่าย หรือสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระเด็ก เฝ้าระวังโดยตรวจเด็กก่อนเข้าห้องเรียนหากพบเด็กมีอาการป่วยซึ่งสงสัยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที และแยกเด็กอื่นไม่ให้คลุกคลีใกล้ชิดกับเด็กป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีการระบาด หากเด็กมีตุ่มในปาก โดยที่ยังไม่มีอาการอื่น ให้หยุดเรียนให้เด็กที่ป่วยขับถ่ายอุจจาระลงในที่รองรับแล้วนำไปกำจัดให้ถูกสุขลักษณะในส้วม หากเด็กมีอาการป่วยรุนแรงขึ้น เช่น ไม่ยอมทานอาหาร ไม่ยอมดื่มน้ำต้องรีบพาไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันทีแล้วแจ้งรายงานโรคเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและขอรับคำแนะนำในการควบคุมโรค รวมทั้งแจ้งรายชื่อ และที่อยู่เด็กที่เข้าข่ายเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ให้แก่ผู้บริหารของโรงเรียนและหน่วยงานสาธารณสุขทุกวันที่พบผู้ป่วยรายใหม่ที่เข้าข่ายการเฝ้าระวัง เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ดำเนินการประสานงานเพื่อให้สุขศึกษาแก่ชุมชนในการลดการเล่น คลุกคลีในเด็ก(เน้นเนื้อหาให้เด็กที่ไม่ป่วยไม่ไปเล่นคลุกคลีกับเด็กบ้านอื่น เพราะไม่รู้ว่าใครบ้างที่ป่วย) จนกว่าพ้นระยะการระบาดในชุมชนนั้นๆ | |
การทำความสะอาดพื้นเพื่อฆ่าเชื้อโรค | |
- เด็กที่ป่วยได้สัมผัส ทั้งในบ้าน สถานศึกษา สถานที่สาธารณะ เช่น ห้างสรรพสินค้า แนะนำให้ทำความสะอาดด้วยแบบสบู่หรือผงซักฟอก ปกติก่อนแล้วตามด้วยน้ำยาฟอกขาว เช่น คลอรอกซ์ ไฮเตอร์ ทิ้งไว้ 10 นาที แล้วล้าง/เช็ด/แช่ ด้วยน้ำสะอาดเพื่อป้องกันสารเคมีตกค้าง ส่วนของเล่นที่เด็กอาจเอาเข้าปากได้ให้ทำความสะอาดด้วยสบู่หรือผงซักฟอกตามปกติ และนำไปผึ่งแดด | |