เกร็ดความรู้สู้โรค
แพทย์เตือนกลุ่มเสี่ยงระวังป่วยโรคมาลาเรีย
10 กรกฎาคม 2557
247
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรคเผยว่า โรคมาลาเรียเป็นโรคติดต่อประจำถิ่นในประเทศเขตร้อน โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค อาการป่วย จะปรากฏหลังถูกยุงกัด 10-14 วัน ได้แก่ มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจ เกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงที่เรียกว่ามาลาเรีย ขึ้นสมอง คือปวดศีรษะรุนแรง ตับโต น้ำตาล ในเลือดต่ำ ไตวาย และเสียชีวิตได้ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว และหญิงตั้งครรภ์ ที่ติดเชื้อมาลาเรีย จะมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ และหากป่วยด้วยโรคนี้ครั้งแรกจะมีอาการรุนแรง เนื่องจากยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อมาลาเรีย แต่หากติดเชื้อซ้ำ อีกครั้ง อาการมักจะไม่รุนแรง พื้นที่แพร่เชื้อมาลาเรียของประเทศไทย ส่วนใหญ่อยู่บริเวณชายแดน ป่าเขา พื้นที่สวนต่างๆ ประชาชนควรป้องกันอย่าให้ยุงกัด โดยยุงก้นปล่องจะออกหากินเวลากลางคืน ฉะนั้นประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ หรือผู้ที่เดินทางไปพักค้างคืนในพื้นที่ดังกล่าว ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด นอนในมุ้ง ทายากันยุง เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้กินยาป้องกันล่วงหน้า เนื่องจาก ไม่มีผลในการป้องกัน ภายหลังกลับจากป่า ถ้ามีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ขอให้นึกถึงโรคมาลาเรีย ต้องรีบพบแพทย์รักษาทันที
ที่มาข่าว:นสพ.แนวหน้า
ที่มาภาพ:Internet