เกร็ดความรู้สู้โรค
รู้จักเพื่อป้องกันแมงมุมแม่ม่ายสีน้ำตาล
23 กรกฎาคม 2557

808


ทำความรู้จัก เพื่อการป้องกัน พิษจากแม่ม่ายสีน้ำตาล

 

 

 

แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลสุดอันตราย 
แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร บริเวณท้องจะโตกว่าหัวหลายเท่า ท้องจะกลมป่อง

 

   

 

 

    

 

 

 

 

แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลจะทำรังอยู่ที่ต่ำ สูงไม่เกิน 1 เมตร ลักษณะรังหรือใยจะยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ พบเห็นได้ตามใต้โต๊ะ เก้าอี้ รองเท้าเก่าในบ้าน

 

 

 

 

 

     

 

 

ผู้ถูกัดจะมีอาการแพ้อย่างแรง แผลจะเหวอะหวะ และเป็นผื่นบวมแดงเจ็บปวด มีหนอง แผลจะหายช้ามาก เพราะพิษทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ระบบน้ำเหลือง และทำลายเม็ดเลือดขาว

 

 

 

 

 

     

 

 

แมงมุมแม่หม้ายดำ เทียบกันแล้วก็น่ากลัว พิษร้ายเหมือนกัน

แมงมุมแม่หม้ายดำ กัดแล้วปล่อยพิษออกมาทั้งหมด เปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คือ ปล่อยพิษออกมาในระดับมิลลิกรัม คือ 1 ส่วนในพันส่วน

 

 

 แมงมุมแม่ม่ายน้ําตาล แมงมุมแม่ม่ายดำ พิษร้ายแรงหรือไม่ มารู้จัก แมงมุมแม่ม่ายน้ําตาล แมงมุมแม่ม่ายดำลักษณะแมงมุมแม่ม่ายน้ําตาล เป็นอย่างไร ถ้าแมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล กัดตายหรือไม่ 

  
         หลังจากนายประสิทธิ์ วงษ์พรม นักวิจัยจากภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ศึกษาเรื่องแมงมุมในประเทศไทย ออกมาเปิดเผยว่า พบแมงมุมพิษชนิดหนึ่งชื่อ"แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล" (Brown widow spider) ซึ่งเดิมพบแต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันได้แพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทยแล้ว พร้อมกับระบุว่า แมงมุมชนิดนี้ มีพิษรุนแรงทำลายระบบเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน พิษร้ายแรงกว่าพิษของ "แมงมุมแม่หม้ายดำ" (Black widow spider) 2 เท่า และร้ายแรงกว่าพิษงูเห่า 3 เท่า งานนี้ทำเอาหลายคนตระหนกตกใจถึงพิษที่ร้ายแรง พร้อมๆ กับอยากรู้ว่า"แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล" มีพิษร้ายแรงขนาดไหน มีอาการอย่างไร และมีวิธีป้องกันรักษาแบบไหน  
 

ลักษณะของแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล

         "แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล" (Brown widow spider) ส่วนใหญ่มักพบบริเวณประเทศสหรัฐอเมริกา แถบฟลอริดา แถบฟลอริดา, เท็กซัส และบริเวณเขตเส้นศูนย์สูตร ขนาดของตัวมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร บริเวณท้องจะโตกว่าหัวหลายเท่า ท้องจะกลมป่อง ด้านล่างมีลักษณะคล้ายรูปนาฬิกาทรายสีส้ม ด้านบนมีสีน้ำตาลสลับขาวลายเป็นริ้วๆ มีจุดสีดำสลับขาวตรงท้องข้างละ 3 จุด รวมเป็น 6 จุด จะมีการแปรผันของสีค่อนข้างเยอะ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม วางไข่ครั้งละ 200-400 ฟอง

อาการหลังโดนพิษแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล

         ตามปกติ แมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล ไม่มีนิสัยดุร้าย ไม่โจมตีหรือบุกกัดใครอย่างไม่มีเหตุผล จะหลบมากกว่าสู้ และจะกัดเมื่อถูกรุกรานที่อยู่เท่านั้น ซึ่งพิษของแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลจะมีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต คล้ายกับพิษจากงู โดยทำให้เม็ดเลือดแตก หรือเลือดไหลไม่หยุด แต่อาจจะแสดงอาการช้ากว่า ส่วนใหญ่ผู้ถูกกัดจะมีอาการแพ้อย่างแรง แผลจะเหวอะหวะ และเป็นผื่นบวมแดงเจ็บปวด มีหนอง แผลจะหายช้ามาก เพราะพิษทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ระบบน้ำเหลือง และทำลายเม็ดเลือดขาว คนที่ถูกกัดมักไม่ทราบว่าแผลดังกล่าวเกิดจากอะไร 
 

ยารักษาพิษแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล

         ขณะนี้ยังไม่มีเซรุ่มหรือยาถอนพิษแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล ทำได้แค่รักษาตามอาการเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะรักษาแบบประคับประคองตามอาการ และรอให้พิษหมดไปเอง เช่น ให้สารทำให้เลือดแข็งตัว หรือหากมีเลือดออกมาก อาจต้องมีการให้เลือดหรือฟอกไต โดยต้องดูตามอาการที่เกิดขึ้น สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นนั้น ให้ขันชะเนาะบริเวณเหนือบาดแผลที่ได้รับพิษ เพื่อไม่ให้พิษไหลเข้าสู่กระแสโลหิตก่อนไปพบแพทย์

ข้อแตกต่างของแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลกับแมงมุมชนิดอื่นๆ

         สำหรับความแตกต่างระหว่างแมงมุมทั่วไปกับแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลนั้น นอกจากลักษณะลำตัวแล้ว ให้สังเกตลักษณะการทำรังหรือการชักใย แมงมุมทั่วไปจะชักใยค่อนข้างสวยงามเป็นระเบียบ และชักใยอยู่ที่สูง เช่น ตามขื่อ ตามคาน หรือหลังคาบ้าน แต่แม่หม้ายน้ำตาลจะทำรังอยู่ที่ต่ำ สูงไม่เกิน 1 เมตร ลักษณะรังหรือใยจะยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ พบเห็นได้ตามใต้โต๊ะ เก้าอี้ รองเท้าเก่าในบ้าน การป้องกันทำได้ด้วยการรักษาความสะอาดบ้าน อย่าปล่อยให้รกรุงรังก็จะปลอดภัย

สาเหตุการแพร่ระบาดของแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล

         ส่วนสาเหตุการแพร่ระบาดแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลเข้ามายังประเทศไทยนั้น คาดว่าจะเข้ามากับเรือสินค้าเป็นหลัก และมีรายงานด้วยว่ามีพ่อค้าบางคนนำมาขายให้คนที่ชอบเลี้ยงสัตว์แปลก โดยไม่รู้ว่าเป็นสัตว์ที่มีพิษร้ายแรง และเชื่อว่าขณะนี้แมงมุมดังกล่าวได้ขยายพันธุ์กระจายไปยังชุมชนต่างๆ รอบๆ ปากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง และอ่าวไทยตอนบนแล้ว เบื้องต้นได้รับรายงานว่า เจอแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาลชุกชุมที่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 

         อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการว่า มีผู้เสียชีวิตจากการถูกแมงมุมแม่หม้ายน้ำตาล แต่มีรายงานการถูกกัดแล้วจากหลายพื้นที่

 

ขอขอบคุณข้อมูลเรียบเรียงโดย กระปุกดอทคอม และภาพประกอบ โดย มติชนออนไลน์