1062
เมลามีน หรือ เมลามีน ฟอร์มาลดีไฮด์ (Melamine formaldehyde) เป็นพลาสติกจำพวกเทอร์โมเซ็ตติง นำกลับไปรีไซเคิลด้วยความร้อนหรือแรงอัดไม่ได้ แต่เมลามีนเป็นที่นิยม เพราะมีนำ้หหนักเบากว่าภาชนะแก้ว กระเบื้อง สแตนเลส และยังทนทาน แตกหักเสียหายยาก ลวดลายสวยงาม ราคาพอประมาณ สามารถทนความร้อนที่อุณหภมูิต่ีำกว่า 100 องศาเซลเซียสได้โดยไม่ก่ออันตรายใด ๆ แต่ถ้าสัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงกว่า 100 องศาเซลเซียส เช่น ปรุง อุ่นด้วยเตาไมโครเวฟ จะก่อให้เกิดอันตรายเพราะผิวภาชนะบวมแตก หรือเกิดรอยไหม้ทำให้มีการแพร่กะรจายของสารฟอร์มาลดีไฮด์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้สารฟอร์มาลดีไฮด์แพร่กระจายได้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งสารนี้เป็นสารก่อมะเร็งในระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาย (อย.) และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จึงได้กำหนดมาตรฐานของสารนี้ไว้อย่างเข้มงวด
ปลอดภัยไว้ก่อน...ถ้าต้องใช้ภาชนะเมลามีน
1. เลือกซื้อภาชนะเมลามีนที่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)
2. เมื่อซื้อภานะเมลามีนมาใหม่ ควรล้างด้วยน้ำร้อนก่อนใช้งานเพื่อชะล้างสิ่งสกปรก และสารฟอร์มาลดีไฮด์ที่ติดอยู่ผิวนอกภาชนะ
3. ไม่ควรนำภาชนะเมลามีนใส่อาหารหลังปรุงด้วยความร้อนเสร็จใหม่ ๆ ควรรอให้อุณหภูมิต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่า ถ้าใช้ภาชนะเมลามีนที่อุณภูมิสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส สารฟอร์มาลดีไฮด์จะปนเปื้อนอาหารได้ถึง 8.7-26.9 มก./ลิตร
4.ไม่ควรใช้ภาชนะเมลามีนในการปรุง/อุ่นอาหารด้วยเตาไมโครเวฟและไม่ใช้ภาชนะเมลามีนเก่า มีคราบหรือสีเปลี่ยนไปจากเดิม อาจทำให้สารฟอร์มาลดีไฮด์ปนเปื้อนในอาหาร
5.ไม่ควรใช้อุปกรณ์การล้างทำความสะอาดที่มีลักษณะแข็งกับภาชนะเมลามีน เช่น ใยเหล็ก แปรงขัด และแผ่นขัด เพราะภาชนะจะเกิดรอยขีดข่วน ทำให้สารฟอร์มาลดีไฮด์ปนเปื้อนในอาหารได้ จึงควรใช้ฟองน้ำนิ่ม ๆ ทำความสะอาด
6. ไม่ใช้ภาชนะเมลามีนใส่อาหารพวกยำ ๆ พริกดอง น้ำส้มสายชู หรืออาหารที่เป็นกรด จะทำให้สารฟอร์มาลดีไฮด์ออกมาปนเปื้อนในอาหาร